วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

วรรณกรรมสะท้อน"สังคมลาว"

        ประเทศลาวเป็นสังคมที่ดำรงชีวิตที่เรียบง่าย  ชอบสงบสุข  ส่วนมากอาศัยอยู่ตามขนบท ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมหลายเรื่องสะท้อนให้เห็นประวัติความเป็นมา  การดำรงชีวิต เอกลักษณ์ ภาษา สังคม และที่สำคัญคือขนบธรรมเนียมประเพณีที่สะท้อนผ่านวรรณกรรม เช่น  สังศิลป์ชัย  เสียวสวาท กาพย์เมืองพวน  ท้าวฮุ่งท้าวเจือง  การเกษ  นางแตงอ่อน  พื้นเวียง  พระเวสสันดร  มโหสต   เป็นต้น 
         วรรณกรรมที่เด่นชัดในประเทศลาว คือ เรื่องสังศิลป์ชัย  เป็นเรื่องที่สะท้อนถึงสังคมลาว ความกล้าหาญของศิลป์ชัย ที่สามารถปราบศัตรู ได้รับชัยชนะมาสู่บ้านเมือง
        
เรื่องย่อของสังข์ศิลป์ชัย
          มีอยู่ว่า พระยากุสราชเจ้าแผ่นดินเมืองเป็งจาล มีมเหสีชื่อนางจันทา พระยากุสราชมีน้องสาวคนหนึ่งชื่อ นางสุมนทา ต่อมามียักษ์ชื่อ กุมภัณฑ์ มาลักเอาตัวนางสุมนทาขณะที่ชมสวนไม้อยู่ ไปเป็นเมียมีลูกด้วยกันคนหนึ่ง
          พระยากุสราช คิดถึงน้องสาวเป็นอันมาก จึงออกบวชแล้วไปตามหาน้องสาวจนถึงเมืองจำปา ได้เห็นลูกสาว 7 คนของนันทเศรษฐี เมืองจำปา มาใส่บาตรก็เกิดความรักจึงลาสิกขา แล้วแต่งอำมาตย์ไปขอนางทั้ง 7 มาเป็นมเหสี
          ต่อมามเหสีทั้งแปดก็เกิดมีครรถ์ โหรได้ทำนายว่าลูกของนางจันทา มเหสีองค์แรกและลูกของลางลุน ซึ่งเป็นมเหสีองค์สุดท้องในจำนวนนั้นจะเป็นคนดี ส่วนลูกของพี่สาวทั้งหกของนางลุนจะเป็นคนชั่ว ทำให้มเหสีที่สาวทั้งหกคนมีความเคียดแค้น จึงจ้างวานให้โหรกลับคำนายใหม่ และทำเสน่ห์ยาแฝดให้พระยากุสราชหลงนางทั้งหกและเกลียดชังนางจันทาและนางลุน
           ครั้งถึงวันคลอด ลูกของนางจันทาเป็นคชสีห์ ชื่อได้ชื่อว่า สีโห(ฉบับภาษาไทยคือสิงหรา) ลูกของนางลุนมีสองคนคนพี่เป็นคนถือดาบกับธนูศิลป์ออกมาด้วย จึงได้ชื่อว่า ศิลป์ชัย ส่วนน้องเป็นหอยสังข์ จึงชื่อว่า สังขาระกุมาร หรือ สังข์ทอง ท้าวกุสราชเชื่อฟังคำทำนายของโหรอสัตย์จึงขับไล่นางทั้งสองพร้อมด้วยลูกออกจากเมือง นางจันทาและนางลุน จึงออกเดินป่า อาสัญผลไม้เป็นเครื่องยังชีพ จนเดือนเศษ พระอินทร์ จึงเนรมิตปราสาทให้ ทั้งห้าคนไดอยู่ในปราสาทนั้นเป็นเวลาถึง 7 ปี
            พระยากุสราชคิดถึงน้องสาวไม่ลืม จึงให้ลูกชายทั้งหกออกตามหานางสุมนทา คนทั้งหกเดินทางหลงป่าไปพบศิลป์ชัย จึงโกหกว่าพ่อใช้ให้ศิลป์ชัยไปตามหาอาศิลป์ชัยหลงเชื่อจึงไปกับคนทั้งคน ต้องเผชิญกับสัตว์ร้าย ศิลป์ชัยสามารถปราบสัตว์ร้ายได้เพราะมีฤทธิ์ พอไปถึงแม่น้ำกว้างหนึ่งโยชน์พี่น้องทั้งหกไม่ข้ามไปด้วยเพราะกลัว ศิลป์ชัยจึงให้คอยอยู่ ณ ที่นั้นโดยให้สีโหเป็นผู้คอยระวังภัยให้ศิลป์ชัยกับสังข์ทองก็เดินข้ามทางต่อไป เผชิญกับภยันตรายต่างๆ ทั้งสัตว์ร้าย ยักษ์ฯลฯ
              จากนั้นก็ไปถึงเมืองยักษ์สามารถฆ่ายักษ์กุมภัณฑ์ได้และไปตามลูกสาวของอากลับมาจากเมืองนาค เมื่อกลับมาถึงที่พี่น้องทั้งหกรออยู่ พี่น้องทั้งหกมีความอิจฉาจึงออกอุบายชวนไปอาบน้ำ แล้วผลักตกเหว แต่ศิลป์ชัยรอดตายเพราะพระอินทร์มาช่วยไว้แล้วนำตัวไปส่งแม่ ส่วนพี่น้องทั้งหกคนนั้นก็กลับมาโกหกอาว่าศิลป์ชัยตกน้ำตาย นางสุมนทาไม่เชื่อจึงเอาไม้ซ้องปิ่นเกล้าและสไบแขวนเสี่ยงทายไว้หากศิลป์ชัยตาย ขอให้ของเหล่านั้นสูญหาย หากไม่ตายก็ขอให้มีคนนำของไปส่งคืนที่เมืองเป็งจา
พี่น้องทั้งหกเมื่อไปถึงเมืองเป็งจาก็ไปทูลพระยากุสราชเอาความดีความชอบต่าง ๆ แม้นางสุมนทาจะทูลว่าผู้ที่ช่วยเหลือตนกลับมาคือ ศิลป์ชัย พระยากุสราชก็หาเชื่อไม่ ต่อมามีพ่อค้าที่เป็นนายสำเภาเอาสิ่งของเหล่านั้นไปส่งให้ที่เมือง นางสุมนทาจึงรู้ว่าหลานชายยังไม่ตาย ต่อมาเมื่อพระยากุสราชรู้ความจริงจึงสั่งให้ลูกชายทั้งหกไปขังคุกแล้วเชิญ ศิลป์ชัย มาขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินแทนตน[2]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น